yimwhanf

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

การยศาสตร์

การยศาสตร์ (Ergonomics) คือ การศึกษาสภาวะแวดล้อมของการทำงาน โดยใช้หลักคิดว่า "เราจะทำให้คนทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร" การจัดสภาพแวดล้อมอย่างไร ที่จะทำให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจ่ายค่าแรงน้อยที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เพื่อให้ผลผลิตออกมามากที่สุด ยุคหลังคนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และในปัจจุบันได้มีสหภาพแรงงานเกิด
หน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานในประเทศไทย มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางการยศาสตร์ ึคือ สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน ขึ้นตรงต่อกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม ตลอดจนมีการจัดตั้ง "สมาคมการยศาสตร์" โดย มีศาสตราจารย์ ดร.กิตติ อินทรานนท์ เป็นประธาน

การยศาสตร์มีความสำคัญอย่างำไร
อะไรบ้างที่เรารู้ เกี่ยวกับร่างกาย และจิตใจมนุษย์ขณะทำงาน ? "จากความรู้ดังกล่าว เราควรออกแบบงาน เครื่องมือ สถานที่ทำงานให้มนุษย์ได้ทำงาน อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งมีความพอใจ และมีความสุขในการทำงาน" Kroemer, 1993
ส่วนประกอบในการทำงาน ประกอบด้วย
มนุษย์ Interaction ในการทำงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร เป็นต้น
สภาวะแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ แสง สี เสียง ซึ่งหลักทางการยศาสตร์ เป็นการพยายามปรับงาน ให้เข้ากับคน คือ ปรับงานให้ทุกคนทำได้ ในท้ายสุด คือ การปรับคนให้เข้ากับงาน ตัวอย่างเช่น การคัดเลือกคนเข้าทำงาน เป็นแอร์โฮสเตส ต้องดูรูปร่างประกอบ ถ้าอ้วนไป การทำงานบนเครื่องบินอาจไม่คล่องตัว เป็นต้น
หลักการทำงานทางการยศาสตร์นั้น เรามักคำนึงถึงการออกแบบเครื่องมือ และการจัดสภาพแวดล้อมการทำงาน เป็นเรื่องที่สำคัญ
ความรู้ที่เกี่ยวข้อง สำหรับการปนะยุกต์ทางการยศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ชีววิทยา การศึกษา การบริหารจัดการ วิศวกรรม การศึกษาการทำงาน การวิจัยการดำเนินการ Cybernertics สถิติประยุกต์ อาชีวอนามัยสาขาทางการแพทย์ สถาปัตยกรรม เป็นต้น

ปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการยศาสตร์
สภาพแวดล้อมทั่วไป ได้แก่ เสียง แสง ความสั่นสะเทือน อุณหภูมิ อากาศ สารเคมี
สภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ เครื่องมือ โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องจักร
ลักษณะงาน
ปัจจัยภายในที่เกี่ยวข้องกับการยศาสตร์
จิตวิทยาสังคม ได้แก่ ความพอใจในการทำงาน ครอบครัว บุคลิกภาพ
ร่างกาย ได้แก่ ความแข็งแรง ความอดทน ความอ่อนตัว ความสูง และน้ำหนักสัดส่วนของร่างกาย
ปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ
กิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก (Forceful Exertions)
กิจกรรมที่ทำซ้ำซาก (Repetitive Motions)
การบริหารจัดการ และจิตวิทยาสังคม (Organization and Psychosocial Work Factors)
ความสั่นสะเทือน (Vibration)
กิจกรรมที่ยาวนาน (Prolonged Activities)
ท่าทางที่ไม่เหมาะสม (Awkward Working Postures)
การกดเฉพาะที่ (Localized Contact Stress)
ท่าทางที่ไม่เหมาะสม (Awkward Working Postures)
คอ คือ ช่วงการเคลื่อนไหวที่มากกว่า 15 องศา กล้ามเนื้อจะล้าได้ง่าย และกล้ามเนื้อเอ็นรอบข้อกระดูกสันหลังส่วนคอ ถูกยืดมากเกินไป
หลัง คือ ก้มมากกว่า 20 องศา แอ่นหลัง หมุน หรือ เอียงตัว หลายกิจกรรมร่วมกัน เนื่องจากเกิดแรงกดที่กระดูกสันหลัง

วิธีการยกที่ควรแนะนำ
ทดสอบน้ำหนักก่อน ถ้าหนักเกินไป ควรขอความช่วยเหลือ
อย่ายกแบบกระตุก หรือกระชาก การยกต้องควบคุมได้
ยกอยู่ในแนวระนาบหน้า - หลัง ไม่บิด ใช้การก้าว แทนการหมุนตัว เวลเปลี่ยนทิศทาง
ระยะทางในการยก ไม่ควรมากเกินไป
พัก เมื่อมีอาการเหนื่อย หรือล้า
การปรับปรุงสภาพการทำงาน
ไม่ยกของหนักเกินกำลัง
ใช้คนช่วย หรือเครื่องมือ
ของที่หนักไม่ควรวางบนพื้น
กิจกรรมที่กระทำโดยใช้เวลานาน ท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรืออยู่ในท่าเดิมนานๆ (Static Posture) ทำให้กล้าเนื้อ และเอ็นมีเลือดมาเลี้ยงลดลง ความยืดหยุ่นเสียไป คอที่ก้มมากกว่า 15 องศา กล้ามเนื้อทำงานมากเกินไป ทำให้เกิด Cumulation Trauma Disorder (CTD) จึงแนะนำให้มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยวิธีการบริหารร่างกาย (Stretching) ค้างไว้ 5-10 วินาที หรือนับหนึ่ง สอง และสาม และสี่ และห้า ........ และสิบ
สรุป การประยุกต์ใช้หลักการทำงาน ควรปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ไม่ควรอยู่ในท่านั้นนานๆ ที่สำคัญการออกกำลังกายแบบแอโรบิก หรือการ Stretching ซึ่งจะพบเห็นได้ว่า พนักงานที่มี aerobic capacity สูง อัตราการพบแพทย์น้อย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก